ลอบปลา
หมายถึง ลอบชนิดที่ใช้จับสัตว์น้ำประเภทปลาเป็นเป้าหมายหลัก
ชาวประมงที่ใช้ลอบปลาส่วนใหญ่เป็นชาวประมงพื้นบ้าน จำนวนลอบที่ใช้จะขึ้นอยู่กับชนิดของลอบและทุนทรัพย์
ถ้าเป็นลอบปลาชนิดที่จับขนาดใหญ่ จะใช้ลอบ 15 - 30 ลูก/ราย ถ้าเป็นลอบปลาขนาดเล็ก
เช่น ลอบลูกปลากะรัง จะใช้ลอบจำนวนมากตั้งแต่ 30 - 100 ลูก /
ราย จำนวนคนที่ใช้ 1 - 5 คน ลักษณะของลอบปลาจะมีหลายแบบ มีหลายขนาด และรูปร่างต่างกัน ขึ้นอยู่กับ ขนาดเรือ กว้าง 1.35 - 1.40 ม. สูง 1.00 - 1.15 ม. ตาข่ายหุ้มโครงลอบตรงส่วนที่เป็นพื้นลอบ อาจใช้เนื้ออวนโพลีเอทธิลีน หรือลวดตาข่ายสำเร็จรูป ขนาดตา 50 - 65 มิลลิเมตร ส่วนที่เป็นงาหรือช่องทางเข้าของสัตว์น้ำ ทำด้วยลวดตาข่ายขนาดเดียวกัน ช่องว่างด้านในระหว่างประมาณ 7 - 10 ซม. โดยโครงลอบใช้ไม้เบญจพรรณที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 3 - 5 ซม. ส่วนที่เป็นงา หรือหลังคาลอบจะใช้ไม้หวาย หรือไม้ตระกูลเถาวัลย์หรือไม้ไผ่ ตัวอย่าง ลอบลูกปลากะรัง จะทำประมงในบริเวณคลองน้ำกร่อย ปากแม่น้ำ น้ำลึก 2 - 5 เมตร ส่วนใหญ่วางเป็นแถว ห่างกันประมาณ 20 ม. โดยมีทุ่นบอกตำแหน่งลอบที่ผิวน้ำ และจะออกไปกู้ลอบและเติมเหยื่อในเวลากลางวันทุก ๆ 1 หรือ 4 ชั่วโมง ลอบลูกปลากะรังจะได้ลูกปลาขนาด 3 - 5 นิ้ว เป็นส่วนใหญ่ |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น