วันศุกร์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2558

คอก


     คอก


    เป็นเครื่องมือประมงประจำที่ พบเฉพาะที่ทะเลสาบสงขลาตอนบนหรือทะเลน้อย ซึ่งเป็นเขตน้ำจืด 
โดยชาวบ้านเป็นผู้เริ่มคิดค้นทำขึ้น ประมาณปี 2541 คอกเป็นเครื่องมือที่ให้สัตว์น้ำที่ขึ้นตามน้ำ 
ในช่วงปลาขึ้นน้ำหรือขึ้นไปวางไข่ของแต่ละปีเข้าไปติดอยู่ในตัวคอก ซึ่งมีช่องเข้าคล้ายงาแซงทำให้เมื่อน้ำลดปลาจะติดอยู่ในคอก
 ผู้ทำจะเลือกทำเลที่เป็นปากน้ำเล็ก ๆ ขนาดกว้างราว 5 - 8 เมตร ที่ไหลลงสู่แหล่งน้ำใหญ่หรือทะเลสาบ
 แล้วทำคอกห่างจากปากน้ำเข้าไปประมาณ 10 - 15 เมตร ตัวคอกพักด้วยไม้รวก หรือไม้อื่นลำเล็ก ๆ ยาว 3 - 4 เมตร ห่างกันราว 1 ฟุต
ตัวคอกเป็นรูปวงกลม เส้นผ่าศูนย์กลาง 5 - 10 เมตร ด้านปากคอกจะหันหน้าไปทางฟากสายน้ำ
 เพื่อดักปลาตอนปลาขึ้นตามน้ำที่ปากคอกจะทำเป็นช่องรูปสามเหลี่ยมคล้ายลันให้ปลาเข้าไปได้ แต่ออกไม่ได้
 แล้วหุ้มด้วยอวนโพลีเอทชิลีนขนาดตา 30 มิลลิเมตร บางรายจะหุ้มด้วยมุ้งเขียวหรืออวนพลาสติก
 จากปากคอกทั้ง 2 ด้านทำเป็นปีกคอกด้วยมุ้งเขียวหรืออวนตาถี่กางไปจนถึงฟากของสายน้ำแต่ละฝั่ง
 โดยคอกจะทำกันในช่วงปลาขึ้นทุกปี ราวเดือนสิงหาคม - กันยายน โดยปลาจะขึ้นตามลำน้ำเข้าไปติดในคอก
 เจ้าของก็จะพายเรือเข้าไปข้างคอกแล้วใช้สวิงหรือไซผีจับปลาใส่เรือ ซึ่งจะทำในลำน้ำเล็ก ๆ ที่ไหลลงทะเลสาบน้ำจืด
มีระดับน้ำลึกประมาณ 2 -3 เมตร ผลกระทบคือจะจับสัตว์น้ำทุกชนิด ปลาตัวเล็ก สัตว์น้ำวัยอ่อนและแม่ปลาที่จะขึ้นไปวางไข่



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น