วันอังคารที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2557

พัฒนาการการประมง



พัฒนาการการประมง

ประวัติ
การประมงที่ยาวนานที่สุดคือการจับปลาคอดและแปรรูปเป็นปลาคอดแห้งจากเกาะลอโฟเทน ประเทศนอร์เวย์ ส่งไปค้าขายยังภาคใต้ของยุโรป อิตาลี สเปน โปรตุเกส ซึ่งเกิดขึ้นในยุคไวกิ้งหรือก่อนหน้านั้น เป็นเวลานับพันปี การประมงหอยมุกในอินเดียเกิดขึ้นมาตั้งแต่ศตวรรษแรกก่อนคริสตกาล เป็นการประมงทะเลลึกบริเวณท่าเรือของอาณาจักรดราวิเดียนทมิฬ เกิดชุมชนหนาแน่นจากการค้ามุก ส่วนการเพาะปลูกในน้ำเกิดขึ้นมาตั้งแต่ยุคโบราณ มีการเพาะปลูกในน้ำหลายชนิด ในสาธารณรัฐประชาชนจีนเกิดขึ้นพันปีก่อนคริสตกาล การเพาะเลี้ยงปลาในตระกูลปลาไนที่อยู่ในบ่อน้ำ หรือบึง ด้วยตัวอ่อนของแมลงและหนอนไหม เพื่อเป็นแหล่งโปรตีน ในฮาวาย เริ่มเพาะเลี้ยงปลาโดยการสร้างบ่อปลามาอย่างน้อย 1000 ปีที่แล้ว ในญี่ปุ่น เพาะปลูกสาหร่ายทะเลด้วยไม้ไผ่ หรือตาข่าย เพาะเลี้ยงหอยนางรมด้วยทุ่นในทะเล ในอียิปต์ และโรมัน มีการเลี้ยงปลาในตระกูลปลาไนในบ่อในคริสต์ศตวรรษที่ 1-4 โดยนำปลาในตระกูลปลาไนมาจากจีนทางแม่น้ำดานูบ บาดหลวงในยุโรปปรับปรุงเทคนิคการเลี้ยงปลาในศตวรรษที่ 14-16 ในเยอรมันมีการเพาะพันธุ์ปลาเทราต์ เมื่อ ค.ศ. 1741 (พ.ศ. 2284) การเพาะเลี้ยงปลาแพร่หลายในยุคกลางของยุโรป เมื่อเริ่มขาดแคลนปลา และราคาปลาแพงขึ้น การพัฒนาปรับปรุงการขนส่งในศตวรรษที่ 19 ทำให้มีปลามากขึ้นและราคาถูกลงแม้ว่าที่ดินเพาะเลี้ยงปลาจะลดลง
ในสหรัฐอเมริกาพยายามเลี้ยงปลาเทราต์เชิงการค้าเมื่อ ค.ศ. 1853 (พ.ศ. 2396) ปลาเรนโบว์เทราต์ถูกพบครั้งแรกในทวีปอเมริกาเหนือและขยายการเพาะเลี้ยงไปทั่วโลก โรงเพาะพันธุ์ปลาแห่งแรกในทวีปอเมริกาเหนือสร้างอยู่บนเกาะดิลโด ประเทศแคนาดาเมื่อ ค.ศ. 1889 (พ.ศ. 2432) ในญี่ปุ่นโรงเพาะฟักกุ้งทะเลและฟาร์มกุ้งแห่งแรกถูกสร้างขึ้นเมื่อ ค.ศ. 1959 (พ.ศ. 2502 ) และเข้าสู่อุตสาหกรรมการเพาะเลี้ยงกุ้งเชิงการค้า อุตสาหกรรมการเลี้ยงปลาแซลมอนในยุโรปและอุตสาหกรรมการเลี้ยงปลาดุกอเมริกันเริ่มต้นพร้อมกันในทศวรรษที่ 60 สหรัฐอเมริกาเข้ามามีส่วนร่วมในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำช่วงปลายศตวรรษที่ 20 การเพาะปลูกในน้ำนับเป็นปรากฏการณ์ร่วมสมัย สัตว์น้ำจำนวน 430 ชนิดถูกนำมาเพาะเลี้ยงตั้งแต่ต้นศตวรรษที่ 20 และสัตว์น้ำจำนวน 106 ชนิดเริ่มเพาะเลี้ยงตั้งแต่ ค.ศ. 1997 (พ.ศ. 2540) การประมง พัฒนาเป็นศาสตร์ที่มีการศึกษา ค้นคว้าวิจัยอย่างกว้างขวางวิทยาศาสตร์การประมงเกิดจากการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ การเพิ่มพูนความรู้บนพื้นฐานวิชาชีววิทยาสัตว์น้ำ มีการเรียนการสอนวิชาการประมงในระดับมหาวิทยาลัยทุกภูมิภาคทั่วโลก มหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงด้านการประมง เช่น ประเทศญี่ปุ่นมีมหาวิทยาลัยการประมงแห่งชาติญี่ปุ่น มหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทางทะเลแห่งโตเกียว ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนมีมหาวิทยาลัยการประมงเซี่ยงไฮ้ มหาวิทยาลัยการประมงดาเลียน ประเทศอินเดียมีมหาวิทยาลัยสัตวศาสตร์และวิทยาศาสตร์การประมงมหาราชตรา ประเทศเวียดนามมีมหาวิทยาลัยเกษตรและป่าไม้โฮจิมินห์ ประเทศออสเตรเลียมีมหาวิทยาลัยแห่งทัสมาเนีย ประเทศโปแลนด์มีมหาวิทยาลัยแห่งวอร์เมียและมาซูรี ประเทศอังกฤษมีสถาบันการประมงระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยแห่งฮัลล์ มหาวิทยาลัยแห่งเซาท์แฮมตัน ประเทศโปรตุเกสมีมหาวิทยาลัยอาร์โซเรส ประเทศแคนาดามีมหาวิทยาลัยแห่งบริติชโคลัมเบีย มหาวิทยาลัยแห่งโทรอนโต มหาวิทยาลัยแห่งเกาะแวนคูเวอร์ ประเทศสหรัฐอเมริกามีมหาวิทยาลัยออเบิร์น มหาวิทยาลัยอาร์คันซอส์ไพน์บลัฟฟ์ มหาวิทยาลัยเท็กซัส มหาวิทยาลัยแห่งวอชิงตัน มหาวิทยาลัยแห่งเทนเนสซี มหาวิทยาลัยแห่งฟลอริดา มหาวิทยาลัยแห่งมินนิโซตา มหาวิทยาลัยแห่งฮาวาย มหาวิทยาลัยแห่งอลาสกา แฟร์แบงก์ มหาวิทยาลัยแห่งรัฐมิชิแกน มหาวิทยาลัยแห่งรัฐโอเรกอน มหาวิทยาลัยแห่งรัฐเซาท์ดาโกตา มหาวิทยาลัยแห่งรัฐโคโลราโด




อาชีพประมงในประเทศไทย


การประมง
การประมง อาชีพประมง ประเทศไทยเรามีความอุดมสมบูรณ์ด้านทรัพยากรธรรมชาติ และยังคงเป็นแบบนี้เรื่อยๆตราบใดที่เราใช้อย่างพอดีและพอประมาณเพื่อที่จะให้ธรรมชาติสร้างใหม่มาทดแทนสัดส่วนที่ใช้ไปธรรมชาติสร้างสรรค์ให้เกิดเป็นการประกอบอาชีพหลากหลายแต่วันนี้เราขอพูดถึงการประมงการประมงในประเทศไทยของเราแบ่งได้ดังนี้ตามลักษณะของภูมิประเทศและตำแหน่งที่ตั้ง


-ประมงน้ำจืด แม่น้ำหลายสายในประเทศไทย มีความหลากหลายทางชีวภาพ
มีสัตว์น้ำจืดหลายๆชนิดอาศัยอยู่และเป็นอาหารของคนไทยเรามายาวนาน
การทำประมงน้ำจืดมีหน่วยงานที่รับผิดชอบคือสำนักวิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืดซึ่งจะมีหน่วยงานย่อยๆของแต่ละจังหวัด
หากท่านต้องการข้อมูล ต้องการที่จะรู้เพื่อที่จะนำไปปรับใช้ในการประกอบอาชีพสามารถเข้าไปติดต่อได้
เราสามารถพบการทำประมงน้ำจืดได้ตามฝั่งของแม่น้ำสายสำคัญของแต่ละจังหวัดอย่างเช่นแม่น้ำสะแกกรังที่จังหวัดอุทัยธานี
ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาตอนบน แม่น้ำตรังที่ก่อนจะไหลลงสู่ทะเล และอาจจะเป็นน้ำกร่อยส่วนหนึ่งนั่นเอง
อาจจะเลี้ยงแบบเพื่อค้าขายหรือลี้ยงบริโภคภายในครอบครัวก็พบเห็นได้ทั่วไป
นอกจากการเลี้ยงแล้วยังมีปลาธรรมชาติในแหล่งน้ำให้ทำการประมงได้อีก

-ประมงน้ำเค็ม อาจจะเหมาะรวมไปถึงในทะเล และชายฝั่ง ประเทศไทยของเรามีมากมายหลายพื้นที่ที่ทำการประมงแบบนี้เรียกได้ว่าทุกจังหวัดตลอดแนวทั้งฝั่ง อ่าวไทยและอันดามัน ด้วยความสมบูรณ์ของท้องทะเลแหล่งอนุบาลสัตว์น้ำตามธรรมชาติที่มีความอุดมสมบูรณ์
อย่างเช่นป่าชายเลน แนวปะการัง ถึงแม้ว่าก่อนหน้านี้ป่าชายเลนทั่วประเทศจะถูกบุกรุ้งเพื่อทำนากุ้งไปอย่างมากมาย
แต่ด้วยความสำนึกรักอนุรักษ์ของคนในพื้นที่หลายๆจังหวัดได้ทำการฟื้นฟูและมีป่าชายเลนเพิ่มขึ้นอย่างมาก
ทำให้เกิดระบบนิเวศใหม่ๆขึ้นมาไม่แต่ปลา กุ้ง ปูเท่านั้น สัตว์อื่นๆก็เพิ่มขึ้นมาอีกหลายชนิด
บอกก่อนนะครับสัตว์เหล่านี้ไม่ได้เกิดขึ้นมาเองนะ มันก็ย้ายถิ่นมาจากพื้นที่ใกล้เคียงมาหาที่อยู่ใหม่นี่ล่ะครับ
ประมงน้ำเค็มหรือชายฝั่งส่วนใหญ่จะทำกันเป็นล่ำเป็นสันคือเลี้ยงในพื้นที่ขนาดใหญ่เลี้ยงเพื่อการค้าโดยแท้จริง




รายชื่อ กลุ่มประมง ม.6/5



    รายชื่อ กลุ่มประมง ม.6/5   
  นางสาว  วัฒนา                                   กลิ่นวัฒนาสกุล        เลขที่3

   นางสาว เสาวลักษณ์                          จารีย์                        เลขที่4

   นางสาว วาสิฏี                                   อิทธิกาย                  เลขที่5

   นางสาว กมลชนก                              กมลนันท์                 เลขที่7

   นางสาว พิชญ์สินี                               ประไพสนธิพงศ์       เลขที่9

   นางสาว เปมิกา                                  สุขสายเมือง            เลขที่11

   นางสาว จุฑามาศ                              ไกรลพ                     เลขที่12

   นางสาว โกมลปาน                            จันทร                      เลขที่13

   นางสาว ศุภิลัดดาภรณ์                      มาศผุย                    เลขที่23

   นางสาว เกวลิน                                 นิโรรัมย์                    เลขที่38